วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

กติกาและวิธีการเล่นกระบี่กระบอง

กติกาและวิธีการเล่นกระบี่กระบอง


1.
 การถวายบังคม

        ในสมัยโบราณการแสดงการต่อสู้มักกระทำต่อหน้าที่ประทับ ผู้แสดงจึงต้องมีการถวายบังคมซึ่งเป็นการแสดงความเคารพต่อพระเจ้าแผ่นดินด้วย  และต่อมาได้เป็นการปฏิบัติเพื่อแสดงความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์และผู้มีพระคุณ การถวายบังคมนี้จะกระทำ 3 ครั้ง แต่ละครั้งมีความหมายดังนี้

         ครั้งที่ 1 หมายถึง การแสดงความเคารพต่อหลักธรรมคำสั่งสอนขององค์พระศาสดา
         ครั้งที่ 2 หมายถึง การแสดงความเคารพต่อองค์พระประมุขของชาติ
         ครั้งที่ 3 หมายถึง การแสดงความเคารพต่อบิดา มารดา ผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาการและผู้มีพระคุณ

2. การขึ้นพรหม ประกอบด้วย การขึ้นพรหมนั่ง และการขึ้นพรหมยืน

         2.1 การขึ้นพรหมนั่ง ได้แก่ การนั่งร่ายรำแต่ละทิศจนครบ 4 ทิศ แล้วจึงกลับหลังหันลุกขึ้นยืน
         2.2 การขึ้นพรหมยืน เป็นการยืนรำแต่ละทิศจนครบทั้ง 4 ทิศ และจบลงด้วยการเตรียมพร้อมจะปฏิบัติในขั้นตอนต่อไป

         การขึ้นพรหมนี้ ถ้าฝ่ายหนึ่งขึ้นพรหมนั่งอีกฝ่ายจะขึ้นพรหมยืน นอกจากเป็นการสร้างกำลังใจและคุ้มครองในการต่อสู้แล้ว การขึ้นพรหมนี้ นาค เทพหัสดิน ณ อยุธยา ได้บันทึกไว้ว่า  เป็นการสอนให้ผู้เรียนระลึกถึงธรรมของการอยู่ร่วมกันในสังคม ได้แก่ พรหมวิหารสี่

3.
การรำเพลงอาวุธ

         ผู้แสดงที่เล่นอาวุธใดจะเลือกรำเพลงตามอาวุธที่ตนใช้  โดยเลือกท่ารำจากท่ารำทั้งหมดในอาวุธนั้นตามความเหมาะสมหรือความชำนาญของผู้เล่นประมาณ 1 ท่า การรำเพลงอาวุธนี้มีมานานแต่สมัยโบราณ และมีประโยชน์ต่อผู้เล่น

4. การเดินแปลง

         เป็นลักษณะของการเดินที่พร้อมจะเข้าสู่ท่าต่อสู้ การเดินจะเดินไปจนสุดสนามแล้วกลับมาที่เดิมขณะที่อยู่ในระยะใกล้ที่จะสวนกันให้ต่างหลีกไปทางซ้ายเพียงเล็กน้อย โดยอาวุธอาจจะถูกหรือระกันเล็กน้อยได้  การเดินแปลงเป็นการที่ทั้งสองฝ่ายต่างจ้องดูเล่ห์เหลี่ยมของกันและกัน เป็นการอ่านใจกันและคุมเชิงกันในทีก่อนจะเข้าต่อสู้

5. การต่อสู้

         จะเป็นการใช้ท่าทางการต่อสู้ที่ได้ฝึกมาทั้งหมดในสถานการณ์จริง การต่อสู้นี้จะใช้อาวุธของการต่อสู้ที่เรียกว่า "เครื่องไม้ตี" มีลักษณะเช่นเดียวกับเครื่องไม้รำแต่ไม่ได้ตกแต่งให้สวยงาม

6. การขอขมา

         เป็นการไหว้กันและกันระหว่างผู้เล่นทั้งสองฝ่ายหลังจบการแสดงแต่ละอาวุธ เป็นการขอโทษต่อการแสดงที่ผิดพลั้งต่อกัน เป็นระเบียบที่กำหนดขึ้นในภายหลังจากสมัยท่านอาจารย์นาค เทพหัสดิน ณ อยุธยา

วันพฤหัสบดีที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ท่ารำกระบี่-กระบอง 6

ท่ารำกระบี่-กระบอง 6


ม้รำที่ 1 ลอยชาย ทิศในการเดิน เดินเฉียงแบบสลับฟันปลาเริ่มจากท่าคุมรำ
จังหวะที่ 1 ก้าวเท้าซ้ายเฉียงไปขวา วางเท้าซ้ายลงหน้าเท้าขวาลักษณะทำกึ่งขวาหันโล้น้ำหนักตัวไปข้างหน้า เข่าซ้ายงอเล็กน้อย
จังหวะที่ 2 ก้าวเท้าขวาชิดเท้าซ้าย ลำตัวตรง รักษาระดับกระบี่ให้ขนานพื้น
จังหวะที่ 3 ยกเข่าซ้ายขึ้นตั้งฉาก ปลายเท้างอขึ้น แล้วใช้มือซ้ายรำหน้าให้ตัวนิ่ง
จังหวะที่ 4 หมุนตัวไปทางซ้าย 1 มุมฉากวางเท้าซ้ายลงพร้อมกับวางกระบี่ ให้กระบี่ขนานกับพื้นไปทางซ้ายของลำตัวระดับเอว ปลายกระชี่ชี้ไปข้างหน้า มือซ้ายจีบที่หน้าอก
จังหวะที่ 5 ก้าวเท้าขวาเลยเท้าซ้ายไปข้างหน้า
จังหวะที่ 6 ก้าวเท้าซ้ายชิดเท้าขวา
จังหวะที่ 7 ยกเข่าขวาขึ้นตั้งฉาก ปลายเท้างอขึ้นพร้อมก้มเหยียดแขนซ้ายอกรำข้าง
(จบไม้รำที่ 1 ลอยชาย)

ไม้รำที่ 2 ควงทัด ทิศทางในการเดินสลับปลาจากท่าคุมรำ
จังหวะที่ 1 จะเริ่มจากท่าคุมรำให้ก้าวเท้าซ้ายเฉียงไปทางเท้าขวา วางเท้าซ้ายลงหน้าเท้าขวา ลักษณะกึ่งขวาหัน พร้อมกับควงกระบี่ 2 รอบ ยกขึ้นทัดหู ปลายกระบี่ 45 องศา โล้น้ำหนักตัวไปข้างหน้า เข่าซ้ายงอเล็กน้อย
จังหวะที่ 2 ก้าวเท้าขวาชิดซ้ายช้า ๆ ลำตัวตรง (ทรงตัวให้นิ่ง)
จังหวะที่ 3 ยกเข่าซ้ายขึ้นตั้งฉากปลายเท้างอ ลำตัวตั้งตรง (ทรงตัวให้นิ่ง)
จังหวะที่ 4 หมุนตัวไปทางซ้ายเฉียงซ้ายลักษณะยกเท้าซ้าย พร้อมจ้องปลายกระบี่ลงข้างหน้าแล้วพลิกข้อมือหงายให้ปลายกระบี่ชี้เฉียงด้านหน้าประมาณ 45 องศา
จังหวะที่ 5 ก้าวเท้าชิดเท้าขวา ยกเข่าขวาขึ้นตั้งฉากต่อกับข้อศอกขวา ปลายเท้างอขึ้นพร้อมกับมือซ้ายรำข้าง
(จบไม้รำที่ 2 ควงทัด)

ไม้รำที่ 3 เสือลากหาง ทิศทางในการเดิน เดินตรงไปข้างหน้าเริ่มจากท่าคุม
จังหวะที่ 1 ก้าวเท้าซ้ายตรงไปข้างหน้า 1 ก้าว โล้ตัวไปข้างหน้าเข่าซ้าย งอเท้าขวาเหยียดตึง น้ำหนักตัวค่อนไปเท้าหน้า คือเท้าซ้าย
จังหวะที่ 2 ก้าวเท้าขวาชิดเท้าซ้าย ทำช้า ๆ ลำตัวตรง หน้าตรง รักษาระดับกระบี่ให้ขนานพื้น
จังหวะที่ 3 ถ่ายน้ำหนักตัวลงที่เท้าขวา พร้อมกับยกเข่าซ้ายขึ้นตั้งฉาก ลำตัวตรง แล้วใช้มือซ้ายรำหน้า จังหวะที่ 4 ถ่ายน้ำหนักตัวไปข้างหน้าพร้อมกับวางเท้าซ้ายลงพื้น แล้วพลิกตัวทำกลับหลังหันเท้าทั้งสองเป็นจุดหมุน พร้อมกับโล้ตัวไปเท้าขวา พลิกปลายกระบี่ชี้ลงพื้น โกร่งกระบี่หันออก มือซ้ายจีบเข้ากลางหน้าอก
จังหวะที่ 5 ถ่ายน้ำหนักตัวไปเท้าซ้าย ยกเข่าขวาขึ้นตั้งฉาก หมุนตัวทางขวามือทำกลับหลังหัน โดยใช้เท้าซ้ายเป็นจุดหมุน ลดกระบี่ไว้ข้างเอว ทางซ้ายมือ
จังหวะที่ 6 วางเท้าขวาลงข้างหน้า แบมือว้าย แตะกระบี่ที่อยู่ข้างเอว โล้ตัวไปเท้าขวา ลำตัวตรง เท้าซ้ายเหยียดตรง
จังหวะที่ 7 ก้าวเท้าซ้ายชิดเท้าขวา ลักษณะย่อตัวเล็กน้อยเพื่อความสวยงาม ลำตัวตั้งตรงสายตามองตรงไปข้างหน้า กระบี่ขนานพื้น มือซ้ายยังคงแตะอยู่ที่กระบี่เอวซ้าย
จังหวะที่ 8 ยกเข่าขวาขึ้นให้ตั้งฉาก พร้อม ๆ กับมือซ้ายรำข้าง
(จบไม้รำที่ 3 เสือลากหาง)

ม้รำที่ 4 ตั้งศอก ทิศทางในการเดิน เดินเฉียงสลับฟันปลา เริ่มจากท่าคุม จังหวะที่ 1 ก้าวเท้าซ้ายเฉียงทางขวา พร้อมกับควงกระบี่ลงข้างหน้า 2 รอบ และยกกระบี่ขึ้นทัดหูโล้ลำตัวไปข้างหน้า น้ำหนักลงที่เท้าซ้าย เข่าซ้ายงอเล็กน้อย เท้าขวาเหยียดตึง ปลายกระบี่ชี้ 45 องศา
จังหวะที่ 2 ก้าวเท้าขวาชิดเท้าซ้ายช้า ๆ สายตามองที่ปลายกระบี่ ลำตัวตรง
จังหวะที่ 3 ยกเข่าซ้ายขึ้นตั้งฉาก ปลายเท้างอขึ้น พร้อมกับมือซ้ายตั้งศอก แบมือเรียงชิดติดกัน ให้ศอกตั้งบนเข่าซ้าย ปลายนิ้วแตะที่ตัวกระบี่ลำตัวตั้งตรง
จังหวะที่ 4 ค่อย ๆ หมุนตัวไปทางซ้าย เพื่อทำเฉียงซ้าย ลดมือซ้ายลงจีบที่กลางหน้าอก พลิกข้อมือขวาหงายขึ้นให้โกร่งกระบี่หันเข้าหาตัว พร้อมกับวางเท้าซ้ายลงพื้น
จังหวะที่ 5 ก้าวเท้าขวาเฉียงไปทางซ้าย วางเท้าขวาลงหน้าเท้าซ้าย พร้อมกับโล้ตัวไปให้น้ำหนักลงที่เท้าขวา งอเข่าขวาเล็กน้อยลำตัวตั้งตรง
จังหวะที่ 6 ก้าวเท้าซ้ายชิดเท้าขวา ช้า ๆ เพื่อความสวยงาม ลำตัวตรง ปลายกระบี่ชี้ 45 องศา สายตามองที่ปลายกระบี่
จังหวะที่ 7 ยกเข่าขวาขึ้นตั้งรองรับข้อศอกขวา ตัวตรงนิ่ง พร้อมกับใช้มือซ้ายรำข้าง
(จบไม้รำที่ 4 ตั้งศอก)

ไม้รำที่ 5 จ้วงหน้าจ้วงหลัง ทิศทางการเดินตรงไปข้างหน้า เริ่มจากท่าคุมรำ
จังหวะที่ 1 ก้าวเท้าซ้ายเดินตรงไปข้างหน้า พร้อมกับควงกระบี่ไปข้างหน้า 2 รอบ ยกขึ้นทัดหู วางเท้าซ้ายลงพื้นหน้าเท้าขวา โล้ตัวไปข้างหน้าเล็กน้อยกระบี่ชี้ 45 องศา ลำตัวตรง
จังหวะที่ 2 ก้าวเท้าขวาชิดเท้าซ้ายช้า ๆ สายตามองที่ปลายกระบี่ ลำตัวตรง
จังหวะที่ 3 ยกเข่าซ้ายขึ้นตั้งฉาก ปลายเท้างอขึ้น จะต้องยืนให้มั่นคงนิ่งไว้ประมาณ 5 วินาที
จังหวะที่ 4 วางเท้าซ้ายลงข้างหน้าตรง ๆ โล้ตัวไปข้างหน้าเล็กน้อยเพื่อให้น้ำหนักตัวอยู่ที่เท้าซ้าย (เพื่อที่จะยกเท้าขวาก้าวต่อ)
จังหวะที่ 5 ขณะที่วางเท้าซ้ายลงข้างหน้าตรง ๆ ให้จ้วงกระบี่ลงข้างหน้าปลายกระบี่เฉียงไปข้างซ้ายลำตัว พร้อมกับจ้วงเท้าขวาไปข้างหน้าอีก 1 ก้าว เรียกว่า “จ้วงหน้า”
จังหวะที่ 6 วางเท้าขวาหน้า พร้อมกับพลิกข้อมือให้โกร่งกระบี่หันเข้าหาตัว ปลายกระบี่ชี้ขึ้น 45 องศา โล้ตัวไปข้างหน้าน้ำหนักตัวอยู่ที่เท้าขวา
จังหวะที่ 7 ก้าวเท้าซ้ายชิดเท้าขวา ยกเข่าขวาขึ้นตั้งรองรับข้อศอกขวา ปลายกระบี่ชี้ 45 องศา ลำตัวตรง มือซ้ายค่อย ๆ รำข้าง ประมาณ 5 วินาที จึงจีบเข้าไว้กลางหน้าอกเช่นเดิม
จังหวะที่ 8 วางเท้าขวาลงพื้นข้างหน้า พร้อมกับหมุนตัวไปทางซ้ายมือกลับหลังหัน ยกกระบี่ขึ้นทัดหูโล้ตัวไปข้างหน้า น้ำหนักตัวที่เท้าซ้ายเข่าซ้ายงอเล็กน้อย
จังหวะที่ 9 ยกเข่าซ้ายขึ้น พร้อมกับจ้วงกระบี่ลงข้างหน้า ถอยเท้าซ้ายไปวางหลังเท้าขวาพลิกข้อมือขวาหันโกร่งกระบี่เข้าหาตัวปลายกระบี่ชี้ขึ้น 45 องศา โล้น้ำหนักตัวไปเท้าขวาเล็กน้อย เรียกว่า “จ้วงหลัง”
จังหวะที่ 10 โล้ตัวกลับน้ำหนักตัวลงเท้าซ้ายพร้อมกับยกเข่าขวาขึ้นรองรับข้อศอกขวา ปลายกระบี่ชี้ 45 องศา ลำตัวตรงพร้อมกับมือซ้ายรำข้าง
(จบไม้รำที่ 5 จ้วงหน้าจ้วงหลัง)

ไม้รำที่ 6 ปกหน้าปกหลัง ทิศทางเดิน เดินตรงไปข้างหน้า เริ่มจากท่าคุมรำ
จังหวะที่ 1 ควงกระบี่ไปข้างหน้า 2 รอบ พร้อมกับก้าวเท้าซ้ายตรงไปข้างหน้า 1 ก้าว วางเท้าซ้ายลงพื้นพร้อมกับเหยียดแขนซ้ายรำหน้า ปกกระบี่ลงให้ปลายกระบี่ชี้ลงพื้น 45 องศา วางโคนกระบี่พาดบนนิ้วก้อย หันโกร่งกระบี่ออกไปข้างหน้า โล้ตัวให้น้ำหนักตัวไปเท้าซ้าย เรียกว่า “ปกหน้า”
จังหวะที่ 2 ก้าวเท้าขวาชิดเท้าซ้าย ก้มหน้า สายตามองที่ปลายกระบี่ (ทำช้า ๆ เพื่อความสวยงาม)
จังหวะที่ 3 ยกเข่าซ้ายขึ้นตั้งฉาก ลำตัวตรง
จังหวะที่4 วางเท้าซ้ายลงพื้นข้างหน้า เท้าขวาพร้อมกับพลิกตัวทำกลับหลังหัน ควงกระบี่ 2 รอบ มือว้ายจีบเข้ากลางอก เมื่อกลับหลังหันแล้วให้ปกกระบี่ลง เหยียดมือซ้ายออกรำหน้า รองรับกระบี่ ปลายกระบี่ชี้ลงพื้น 45 องศา ก้มหน้าเล็กน้อย ถ่ายน้ำหนักตัวไปเท้าขวา เรียกว่า “ปกหลัง”
จังหวะที่ 5 ยกเท้าขวาขึ้นตั้ง มือซ้ายจีบเข้ากลางอก หมุนตัวกลับหลังหัน โดยใช้เท้าซ้ายเป็นจุดหมุน เพื่อหันกลับมาเริ่มในจังหวะที่ 1 ต่อไป
(จบไม้รำที่ 6 ปกหน้าปกหลัง)


การรำพรมยืน

การรำพรมยืน



            การขึ้นพรหมยืน
            ในท่าถวายบังคม วางกระบี่ให้ชี้ปลายไปข้างหน้า ห่างจากเข่า 1 คืบ

            จากท่านั่ง เมื่อถวายบังคมเสร็จแล้ว ก้มตัวลงข้างหน้า ไหว้กระบี่
มือขวาจับกระบี่ทัดหูให้โกร่งกระบี่อยู่ข้างบนปลายกระบี่ชี้ไปข้างหน้า
มือซ้ายจีบอกพร้อมทั้งตั้งเข่าซ้าย
จ้วงกระบี่ลงทางซ้ายพร้อมกับลุกขึ้นยืนด้วยเท้าซ้าย หันตัวไปทางขวา
หนึ่งมุมฉาก ยกเข่าขวาขึ้นรับศอกขวา กระบี่เฉียงออก 45 องศา
มือซ้ายรำข้างแล้วจีบไว้ที่อก วางเท้าขวาลง
ก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า 1 ก้าว กระบี่ทัดหู โล้ตัวไปข้างหน้า
ลากเท้าขวาชิดเท้าซ้าย ยกเท้าซ้ายขึ้น
วางเท้าซ้ายลง จ้วงกระบี่ลงทางซ้าย ก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า 1 ก้าว
พลิกระบี่ไปอยู่ข้างหน้า โกร่งกระบี่หันเข้าหาตัว กระบี่เฉียง 45 องศา

     
           ลากเท้าซ้ายชิดเท้าขวา ยกเท้าขวาขึ้น
มือซ้ายรำข้าง แล้วจีบไว้ที่อก
วางเท้าขวาลงหมุนตัวกลับหลังหันทางซ้าย กระบี่ทัดหู
ลากเท้าขวาชิดเท้าซ้าย
ยกเท้าซ้ายขึ้น
จ้วงกระบี่ลงทางซ้าย วางเท้าซ้ายลง แล้วก้าวเท้าขวาไปข้างหน้าอีก
1 ก้าวพร้อมกับพลิกกระบี่ไปข้างหน้าเฉียง 45 องศา โกร่งกระบี่หัน
เข้าหาตัว เข่าขวางอ เข่าซ้ายตึง
ลากเท้าซ้ายชิดเท้าขวา ยกเท้าขวาขึ้น
มือซ้ายรำข้าง
วางเท้าขวาข้างเท้าซ้าย หมุนตัวไปทางซ้าย ยกกระบี่ขึ้นทัดหู โกร่ง
กระบี่หันขึ้นข้างบน มือซ้ายจีบที่อก โล้ตัวไปข้างหน้า เข่าซ้ายงอเข่า
ขวาตึง


          ลากเท้าขวาชิดเท้าซ้าย ยกเท้าซ้ายขึ้น
จ้วงกระบี่ลงข้างซ้าย วางเท้าซ้ายลง ก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า 1 ก้าว
พลิกกระบี่ให้เฉียงขึ้นไปข้างหน้า 45 องศา หันโกร่งกระบี่เข้าหาตัว
เข่าขวางอ เข่าซ้ายตึง
ลากเท้าซ้ายชิดเท้าขวา ยกเท้าขวาขึ้น
มือซ้ายรำข้าง แล้วจีบไว้ที่อก
วางเท้าขวาลงข้างหน้า แล้วหมุนตัวกลับหลังหันทางซ้ายยกกระบี่ขึ้น
ทัดหู โกร่งกระบี่อยู่ข้างบน โล้ตัวไปข้างหน้า เข่าซ้ายงอ เข่าขวาตึง
ลากเท้าขวาชิดเท้าซ้าย ยกเท้าซ้ายขึ้น
จ้วงกระบี่ลงข้างซ้าย วางเท้าซ้ายลง ก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า 1 ก้าว
พลิกกระบี่ให้เฉียงขึ้นไปข้างหน้า 45 องศา หันโกร่งกระบี่เข้าหาตัว
เข่าขวางอ เข่าซ้ายตึง
ลากเท้าซ้ายชิดเท้าขวา ยกเท้าขวาขึ้น
มือซ้ายรำข้าง แล้วจีบไว้ที่อกวางเท้าขวาลงข้างหน้า แล้วหมุนตัว
กลับหลังหันทางซ้ายยกกระบี่ขึ้นทัดหู โกร่งกระบี่อยู่ข้างบนโล้ตัว
ไปข้างหน้า เข่าซ้ายงอ เข่าขวาตึง



          มือซ้ายรำข้าง แล้วจีบไว้ที่หน้าอก
ควงกระบี่สองรอบ
วางเท้าขวาเฉียงไปทางขวา กระบี่อยู่ข้างขวา แขนขวาชิดลำตัว
ศอกเป็นมุมฉาก กระบี่ขนานพื้น โล้ตัวไปข้างหน้าอยู่ในท่าคุมรำ

วันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การขึ้นพรหมนั่ง

การขึ้นพรหมนั่ง



           จากท่านั่งเมื่อถวายบังคมเสร็จแล้ว
หันหน้าไปทางซ้ายก้มตัวลงไหว้กระบี่
เอามือขวาจับกระบี่ มือซ้ายจีบไว้ที่หน้าอก
ยกกระบี่ขนานพื้น ข้ามศีรษะทางขวา
กระบี่อยู่ทางขวา ขนานพื้น โกร่งกระบี่หันออกนอกลำตัว หงายมือ ข้อศอกงอเป็นมุมฉากชิดลำตัว ตั้งเท้าขวาไว้ข้างหน้า นั่งบนส้นเท้าซ้าย
ชักเท้าขวามานั่งคุกเข่า ตั้งเท้าซ้ายไว้ข้างหน้า นั่งบนส้นเท้าขวา


   
            โล้ตัวไปข้างหน้าโดยวางเข่าซ้ายลง ยกเท้าขวาขึ้น แล้วมือซ้ายรำหน้า
ระดับหน้าผาก
หมุนตัวกลับหลังหันทางขวา โดยยกเข่าทั้งสองขึ้น พร้อมกับวาดกระบี่
ไปทางซ้าย กระบี่ขนานพื้น
วางเข่าซ้ายลง นั่งบนส้นเท้าซ้าย ตั้งเข่าขวาขึ้น กระบี่แนบลำตัวทาง
ซ้ายมือซ้ายจีบอยู่ที่หน้าอก
มือซ้ายรำข้างระดับใบหู โดยให้แขนงอโค้งเล็กน้อย
วาดกระบี่ขนานพื้นไปทางขวา มือซ้ายจีบที่หน้าอก
ในขณะที่วาดกระบี่มาทางขวาสุดแล้วให้ดึงเข่าขวาวางบนพื้นและ
ตั้งเข่าซ้ายขึ้น


            โล้ตัวไปข้างหน้าวางเข่าซ้ายลง ยกเท้าขวาขึ้น มือซ้ายรำหน้า
หมุนตัวไปทางขวา ดึงมือซ้ายมาจีบไว้ที่อก วาดกระบี่ไปอยู่ทางซ้าย
ชิดลำตัวตั้งเข่าขวาบิดเข่าซ้ายไปทางขวาวางเข่าซ้ายลงนั่งบนส้น
เท้าซ้าย
มือซ้ายรำข้าง
ดึงมือซ้ายมาจีบไว้ที่อก วาดกระบี่ไปทางขวากระบี่ขนานพื้น ดึงเข่า
ขวาวางไว้ที่พื้น ตั้งเข่าซ้ายขึ้น
โล้ตัวไปข้างหน้า วางเข่าซ้ายลงบนพื้น ยกเท้าขวาขึ้น แล้วรำหน้า
หมุนตัวกลับหลังหันทางขวา มือซ้ายจีบไว้ที่อก วาดกระบี่ไปทางซ้าย
กระบี่ชิดลำตัว ลุกขึ้นยืนด้วยเท้าซ้าย ยกเข่าขวาขึ้นให้ขาขวารองรับ
ศอกขวา

                   
            มือซ้ายรำข้าง วาดกระบี่ไปข้างหน้าสองรอบ มือซ้ายจีบเข้าอก
วางเท้าขวาเฉียงไปทางขวา โล้ตัวไปข้างหน้า เข่าขวางอ เข่าซ้ายตึง
กระบี่อยู่ทางขวา อยู่ในท่าคุมรำ


ประวัติของกระบี่กระบอง

ประวัติของกระบี่กระบอง   



ชาติไทยเป็นชนชาติที่มีการต่อสู้ศึกสงครามเพื่อป้องกันประเทศ รักษาความเป็นเอกราชของแผ่นดินที่ยาวนานชนชาติหนึ่ง คนไทยในยุคแรก ๆ ที่เริ่มก่อตั้งแผ่นดินสุวรรณภูมิแหลมทองมาจนถึงยุครัตนโกสินทร์ บรรพบุรุษในยุคดังกล่าวได้อาศัยสติปัญญา ความกล้าหาญ และใช้อาวุธนานาชนิดที่มีอยู่ในท้องถิ่นและกองทัพเข้าต่อสู้ป้องกันมาโดยตลอด เริ่มจาก            อ่านเพิ่มเติม